- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ข่าว/กิจกรรม
- การให้บริการ
- การป้องกันการทุจริต
- ติดต่อเรา
ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหาภาค ๑.๑ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๑.) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒.) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓.) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน (๔.) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (๕.) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (๖.) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ๑.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การบริหารและจัดการในภาครัฐ การป้องกันทุจริตประพฤติมิชอบและ ธรรมาภิบาลในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๙ : การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ ๑๐ : ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ๑.๓ แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด ๑.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการผลิตข้าว และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๒.ส่งเสริมการแปรรูป การตลาด และการกระจายสินค้าเกษตร เพื่อสร้างข้อมูลค่าเพิ่มและ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ๓.พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามมาตรฐานเพื่อดึงดูดนักท้องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ ๑.๔ ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด (๑.) การบริหารจัดการน้ำ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล (๒.) การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตร และฐานชุมชนที่เข้มแข็ง (๓.) การเสริมสร้างสังคมคุณภาพ สันติสุขอย่างยังยืน (๔.) การพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารและบริการสู่สากล ๒.ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒.๑ วิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจยั่งยืน พื้นฐานมั่นคง ซื่อตรงบริการ บริหารสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมชุมชน ผู้คนปลอดภัย” ๒.๒ ยุทธศาสตร์ ๑. ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ๒. ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคการเกษตรและสินค้าข้าว ๓. ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาและมุ่งพัฒนาสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ๔. ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู้ความเป็นเลิศตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๒.๓ เป้าประสงค์ ๑. บำรุงและส่งเสริมประกอบอาชีพของราษฎร ๒. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบกและพัฒนาแหล่งน้ำ ๓. สร้างเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ๔. ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. พัฒนาคุณภาพคนเพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ ๒.๔ ตัวชี้วัด ๑. ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีพ ๒. การคมนาคมสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยและมีแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอ ๓. พัฒนาปฏิบัติราชการโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ ประชาชน ๔. เสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้สู่คุณภาพชีวิตใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและพึ่งพาตนเอง ๕. ให้คนมีศักยภาพในการดำรงชีวิตและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ๒.๕ ค่าเป้าหมาย โครงการต่างๆได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นทุกปีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ของโครงการพัฒนาต่างๆ ๒.๖ กลยุทธ์ ๑. การอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและยังยืน ๒. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ ทรัพยากรน้ำ การศึกษา การออกแบบ เพื่อการจัดการ ๓. จัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ๔. ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ๕. ส่งเสริมการผลิตและกระจายข้าวพันธุ์ดี พร้อมทั้งส่งเสริมภาคเอกชนและสถาบันเกษตร พัฒนาธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว ๖.ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ ระบบสาธารณูปโภคและ
ประกอบอาชีพ การสหกรณ์ และการแก้ไขปัญหาความยากจน
ชีวิตสตรี เด็ก คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเอดส์ ผู้สูงอายุ
๑๐. ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยสร้างจิตสำนึก และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ๑๑.ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารปลอดภัย เล่นกีฬา ออกกำลังกายและจัดให้มี ๑๒.ส่งเสริมด้านสาธารณสุขเพื่อการมีสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตที่ดี ๑๓.ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๑๔. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๑๕. พัฒนาท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงาน อื่นๆ ๑๖. พัฒนาการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ๑๗. การพัฒนาองค์กรและบุคลากร การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตอบสนองความ ต้องการของประชาชน ๒.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์ จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1๒ ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการสภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ เป็นเมืองน่าอยู่ ๓.การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ๓.๑ การวิเคราะห์กรอบจัดการทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสนได้ใช้เทคนิค SWOT นำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนา เพื่อประเมินศักยภาพและโอกาสการพัฒนา ดังนี้ จุดแข็ง(S)องค์การบริหารส่วนตำบลมีการแบ่งงานเป็นสัดส่วน มีการมอบอำนาจในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการนำระเบียบ กฎหมาย มาใช้เป็นหลักยึดถือปฏิบัติทำให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน และอสม. มีความเข้มแข็ง จุดอ่อน(W) งบประมาณมีไม่เพียงพอ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยไม่เพียงพอ การประสานงานยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากงานบางอย่างเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ในบางครั้งหาผู้รับผิดชอบหลักไม่ได้ ทำให้ต่างหน่วยงานต่างทำ เมื่องานออกมาผลงานจะไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน โอกาส(O) ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมาใช้ในการพัฒนา และมีองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย อุปสรรค(T) การปฏิบัติงานบางอย่างจำเป็นต้องดำเนินการโดยด่วน แต่ติดขัดในเรื่องงบประมาณ ระเบียบและระยะเวลาในการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา ๓.๒ การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าได้ โดยมีแรงสนับสนุนจากหมู่บ้านและ อสม. สามารถแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนได้ สร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับหมู่บ้าน พัฒนาด้านเศรษฐกิจ เสริมสร้างสุขภาพอนามัยของประชาชน พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น สร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่
3.3 ความเชื่องโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงสร้างความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.2561-2564
1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
1.การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2.การเสริมความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 3.การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4.การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5.ด้านความมั่นคง 6.การเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมภิบาลในภาครัฐ 7.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ 8.ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม 9.การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ 10.การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค
1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการผลิตข้าว และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้ มาตรฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2.ส่งเสริมการแปรรูป การตลาด และการกระจายสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามมาตรฐานเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการผลิตข้าว และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้ มาตรฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2.ส่งเสริมการแปรรูป การตลาด และการกระจายสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามมาตรฐานเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
1.ยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตร และฐานชุมชนที่เข้มแข็ง 3.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสังคมและคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อย่างยั่งยืน 4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดสามารถทางการบริหารและบริการสู่สากล ๕.ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและระบบจัดการเรียนรู้ให้ หลากหลายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
1.ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคการเกษตรและสินค้าข้าว 3.ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 4.ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป้าประสงค์ 1.บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร 2.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบกและพัฒนาแหล่งน้ำ 3.สร้างเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 4.ส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.พัฒนาคุณภาพคนเพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ กลยุทธ์ 1.การอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน 2.ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ ทรัพยากรน้ำ การศึกษา การ ออกแบบเพื่อการจัดการ 3.จัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 4.ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5.การส่งเสริมการผลิตและกระจายข้าวพันธุ์ดี พร้อมทั้งส่งเสริมภาคเอกชนและ สถาบันเกษตรกรกรพัฒนาธุรกิจเมล็ดพันธ์ข้าว 6.ก่อสร้างปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ 7.การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ส่งเสริม การประกอบอาชีพ การสหกรณ์ และการแก้ไขปัญหาความยากจน 8.การพัฒนาการสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการ สิทธิมนุษยชน และการส่งเสริม คุณภาพชีวิตสตรี เด็ก คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเอดส์ ผู้สูงอายุ 9.ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกประเภทให้มีคุณภาพ 10.ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพรีอันดีงามของท้องถิ่น โดยสร้าง จิตสำนึก และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน 11.ส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคอาหารปลอดภัย เล่นกีฬา ออกกำลังกายและจัดให้ สถานที่ออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจอย่างทั่วถึง 12.ส่งเสริมด้านสาธารณสุขเพื่อการมีสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตที่ดี 13.ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 14.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนความสงบ เรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 15.พัฒนาทองถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และ หน่วยงานอื่นๆ 16.พัฒนาการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ 17.การพัฒนาองค์กรและบุคลากร การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตอบสนอง ความต้องการของประชาชน แผนงาน - แผนงานบริหารงานทั่วไป - แผนงานการรักษาความสงบภายใน - แผนงานการศึกษา - แผนงานสาธารณสุข - แผนงานสังคมสงเคราะห์ - แผนงานแผนงานเคหะและชุมชน - แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา - แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมขน - แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ - แผนงานการเกษตร - แผนงานงบกลาง ผลผลิต/โครงการ - โครงการได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖0 |
||||||
|